รูปแบบการทำงานและข้อดีของ Butterfly Valve
การขับเคลื่อนวาล์วหรือการเปิด-ปิดวาล์ว สามารถแยกออกเป็น 2 วิธี ดังนี้
- Manual Operated Valve หรือวาล์วที่เปิดปิดด้วยมือ ประกอบไปด้วย
– Lever Operated Valve: เป็นวาล์วที่เปิดปิดด้วยด้ามโยก วาล์วลักษณะนี้จะมีด้ามโยกต่อเข้าโดยตรงกับตัววาล์ว โดยทั่วไปแล้ว จะสามารถปรับการไหลของของเหลวได้ 10 ตำแหน่ง ตำแหน่งละ 10 องศา เราสามารถใช้การเปิดปิดด้วยด้ามโยกกับวาล์วปีกผีเสื้อ (Butterfly Valve) ที่มีขนาดเล็ก จนถึงขนาดประมาณ 12 นิ้ว มีทั้งด้ามโยกวัสดุ เหล็กเคลือบสี และสแตนเลสสตีล
– Handwheel Operated valve (with gearbox): เป็นวาล์วที่มีพวงมาลัยและชุดเกียร์ทดต่อเข้ากับก้านวาล์ว ช่วยให้ออกแรงในการเปิดปิดวาล์วน้อยลง เบาลง และลดการเกิด Water Hammer หรือน้ำกระแทก เหมาะกับวาล์วปีกผีเสื้อ (Butterfly Valve) ที่มีขนาดใหญ่
- Actuator Operated valve หรือวาล์วที่เปิดปิดด้วยการใช้หัวขับวาล์ว แบ่งออกเป็น
– Pneumatic actuator หรือ หัวขับลม การเปิดปิดวาล์วด้วยหัวขับลม (pneumatic actuator for butterfly valve) เป็นที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากมีราคาไม่แพง
– Electric Actuator หรือ หัวขับไฟฟ้า เป็นการเปิดปิดวาล์วโดยการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า หัวขับไฟฟ้าจะมีราคาสูงกว่าหัวขับวาล์วแบบหัวขับลม
ข้อดีคือ:
- มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน
- น้ำหนักเบา ติดตั้งไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องมีปะเก็นเพื่อป้องกันการรั่วซึม แต่เลือกใช้เป็นตัว ซีทไลเนอร์ (Seat liner) แทนได้
- มีขนาด ความกว้างที่น้อยกว่าวาล์วประเภทอื่นทำให้ประหยัดเนื้อที่
- มีชิ้นส่วนที่ขยับค่อนข้างน้อย จึงทำให้ต้องการการดูแลบำรุงรักษาน้อย
- สามารถควบคุมการไหลของของเหลวได้ดี
- สะดวกต่อการติดตั้งระบบควบอัตโนมัติ เช่น ระบบนิวเมติก, ไฮดรอลิค หรือไฟฟ้า
- ใช้แรงบิด หรือ Torque ต่ำในการเปิดปิดวาล์ว ดังนั้นจึงสามารถใช้หัวขับวาล์ว (Actuator) ที่มีขนาดเล็กได้ ทำให้ประหยัดพลังงาน
- ลักษณะของ Butterfly valve สามารถเป็นได้ทั้งวาล์วเปิดปิด และวาล์วที่ใช้ในการควบคุม (วาล์วคอนโทรล)
• Butterfly Valve มีตัวเลือกของวัสดุค่อนข้างหลากหลาย จึงสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับของเหลวในท่อได้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำดื่ม, สารเคมี, น้ำร้อน, น้ำเย็น ฯลฯ ในขณะที่วาล์วประเภทอื่นอาจจะมีตัวเลือกของวัสดุที่น้อยกว่า